แรนิทิดีน (Ranitidine)














แรนิทิดีน (Ranitidine)


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :
กระเพาะอาหาร  เภสัชกรรม 
อาการที่เกี่ยวข้อง :
ปวดท้องจากกรดในกระเพาะอาหาร 

บทนำ

แรนิทิดีน หรือ รานิทิดีน (Ranitidine) เป็นยาที่เป็นสารเคมีที่มีกลไกแข่งขันหรือยับยั้งการทำงานของสารฮีสตามีน (Histamine) ที่เรียกว่า Histamine H2 receptor antagonist ทำ ให้การหลั่งกรดในกระเพาะอาหารลดน้อยลง จึงถูกนำมาใช้รักษาแผลในกระเพาะอาหาร และลดภาวะกรดไหลย้อน
ยาแรนิทิดีนเกิดขึ้นจากทีมวิจัยของบริษัทแกล็กโซสมิทไคล์น (Glaxo) อีกทั้งยังทำการศึก ษาเปรียบเทียบกับยาลดกรดตัวอื่น เช่น ไซเมทิดีน (Cimetidine) พบว่าผลข้างเคียงของแรนิทิดีนมีน้อยกว่า จึงเป็นเหตุผลหนึ่งในเชิงการตลาดที่จะนำยาแรนิทิดีนเข้าสู่สถานพยาบาลหลายแห่งของประเทศ
องค์การอนามัยโลกจัดยาแรนิทิดีนอยู่ในหมวดยาจำเป็นของระบบสาธารณสุขมูลฐานของแต่ละประเทศ สำหรับประเทศไทยเราจัดแรนิทิดีนอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติและอยู่ในหมวดยาอันตราย เพราะมีผลข้างเคียงและข้อห้ามใช้จำเพาะในแต่ละกลุ่มของผู้ป่วย
เมื่อร่างกายได้รับยาแรนิทิดีน ตัวยาจะจับกับโปรตีนในกระแสเลือดประมาณ 15% จากนั้น แรนิทิดีนจะถูกลำเลียงส่งไปที่อวัยวะตับ เพื่อเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมี ต้องใช้เวลาประมาณ 2 -3 ชั่วโมงในการกำจัดยาออกจากร่างกาย 50% โดยผ่านไปกับปัสสาวะ
ถึงแม้ยาแรนิทิดีนจะถูกใช้รักษาผู้ป่วยทั่วโลกเป็นจำนวนมากก็จริง แต่ไม่ได้หมายความว่า ประชาชนทั่วไปจะหาซื้อมารับประทานเองได้อย่างปลอดภัย ดังนั้น การใช้ยานี้จึงยังคงต้องอยู่ภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้น

ยาแรนิทิดีนมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?

ยาแรนิทิดีนมีสรรพคุณคือ

ยาแรนิทิดีนมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

ยาแรนิทิดีนมีกลไกการออกฤทธิ์ที่ผนังของกระเพาะอาหาร โดยจะแข่งขันและป้องกันไม่ ให้สารฮีสตามีน (Histamine) เข้าจับกับตัวรับ (Receptor) ที่เรียกว่า Histamine H2 receptors อีกทั้งยังป้องกันไม่ให้ Histamine ไปกระตุ้นการหลั่งกรดของกระเพาะอาหาร ด้วยกลไกดัง กล่าว อาการของโรคจะค่อยๆหายและดีขึ้นเป็นลำดับ

ยาแรนิทิดีนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยาแรนิทิดีนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายดังนี้
  • รูปแบบยาเม็ด ขนาดความแรง 150 และ 300 มิลลิกรัม/เม็ด
  • รูปแบบยาฉีด ขนาดความแรง 50 มิลลิกรัม/2 มิลลิลิตร

ยาแรนิทิดีนมีขนาดรับประทานอย่างไร?

ยาแรนิทิดีนมีขนาดรับประทานดังนี้
ก. ขนาดรับประทานของยาแรนิทิดีน สำหรับผู้ใหญ่และเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป คือ
  • สำหรับแผลในกระเพาะ - ลำไส้ชนิดเฉียบพลัน: รับประทานครั้งละ 150 มิลลิกรัมเช้า -เย็น หรือรับประทานครั้งละ 300 มิลลิกรัมวันละครั้ง ก่อนนอน เป็นเวลาติดต่อกัน 4 สัปดาห์ หากต้องรับประทานนานกว่านี้ ให้ลดขนาดรับประทานเป็น 150 มิลลิกรัมวันละครั้ง ก่อนนอน
  • สำหรับป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารเมื่อใช้ร่วมกับยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs: รับประทานครั้งละ 150 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เช้า - เย็น หรือรับประทานครั้งละ 300 มิลลิกรัมครั้งเดียวก่อนนอน เป็นเวลาติดต่อกัน 8 - 12 สัปดาห์
  • สำหรับรักษาแผลในลำไส้ที่มีการติดเชื้อ H.pylori ร่วมด้วย: รับประทานครั้งละ 300 มิลลิกรัมวันละครั้ง ก่อนนอน หรือรับประทานครั้งละ 150 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง กรณีโรคนี้ จำเป็นต้องใช้ยาแรนิทิดีนร่วมกับตัวยาอื่นๆเช่น ยาปฏิชีวนะ ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์
  • สำหรับรักษาอาการกรดไหลย้อน: รับประทานครั้งละ 150 มิลลิกรัมวันละ 2 ครั้ง เช้า - เย็น หรือรับประทานครั้งละ 300 มิลลิกรัมวันละครั้ง ก่อนนอน เป็นเวลา 8 - 12 สัปดาห์ หากอาการโรคมีความรุนแรงมากอาจต้องรับประทานเป็นครั้งละ 150 มิลลิกรัมวันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 12 สัปดาห์ขึ้นไป
  • สำหรับโรค Zollinger - Ellison syndrome: รับประทานครั้งละ 150 มิลลิกรัมวันละ 3 ครั้ง ขนาดรับประทานอาจปรับสูงได้ถึง 6 กรัม/วัน สามารถรับประทานยาก่อนหรือหลังอาหารก็ได้
ข. ขนาดรับประทานของยาแรนิทิดีนในเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปี จะขึ้นกับน้ำหนักตัวเด็ก และอายุของเด็ก ซึ่งการใช้ยาต้องอยู่ในดุลพินิจของแพทย์เท่านั้น
*****หมายเหตุ
ยาแรนิทิดีนยังมีขนาดรับประทานอีกหลายอาการ หลายภาวะ/โรค ที่มีขนาดยาแตกต่างกันออกไปที่มิได้กล่าวถึง จึงเป็นเหตุผลว่า การใช้ยาอย่างถูกต้องปลอดภัย ควรต้องเป็นไปตามคำ สั่งของแพทย์ผู้รักษาเท่านั้น

เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาแรนิทิดีน ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกร ดังนี้

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

หากลืมรับประทานยาแรนิทิดีน สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า

ยาแรนิทิดีนมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

ยาแรนิทิดีนอาจก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) คือ ลมพิษ มีไข้ หลอดลมหดเกร็งทำให้หายใจลำบาก ความดันโลหิตต่ำ เจ็บหน้าอก เป็นต้น

มีข้อควรระวังการใช้ยาแรนิทิดีนอย่างไร?

มีข้อควรระวังการใช้ยาแรนิทิดีน ดังนี้
***** อนึ่ง
ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด(รวมยาแรนิทิดีนด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิด ควรต้องปฏิบัติตาข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด ) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

ยาแรนิทิดีนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

ยาแรนิทิดีนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นดังนี้

ควรเก็บรักษายาแรนิทิดีนอย่างไร?

สามารถเก็บยาแรนิทิดีนภายใต้อุณหภูมิห้อง เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดดและความชื้น ไม่เก็บยาในห้องน้ำ และเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ยาแรนิทิดีนมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ยาแรนิทิดีนที่จำหน่ายในประเทศไทย มียาชื่อการค้าอื่นๆและบริษัทผู้ผลิต เช่น
ชื่อการค้าบริษัทผู้ผลิต
Acicare (เอซิแคร์)Unique
Aciloc (เอซิล็อก)Cadila
Histac (ฮีสแท็ก)Ranbaxy
Ramag (แรแม็ก)T P Drug
Ranicid (แรนิซิด)M & H Manufacturing
Ranid (แรนิด)T. Man Pharma
Ranidine (แรนิดีน)Biolab
Ranin-25 (แรนิน-25)Umeda
Ranit-VC Injection (แรนิท-วีซี อินเจ็กชั่น)Vesco Pharma
Rantac 150 (แรนแท็ก 150)Medicine Products
Rantodine (แรนโทดีน)Utopian
Ratic (แรติก)Atlantic Lab
Ratica (แรติกา)L. B. S.
R-Loc (อาร์-ล็อก)Zydus Cadila
Xanidine (แซนิดีน)Berlin Pharm
Zantac (แซนแท็ก)GlaxoSmithKline
Zantidon (แซนทิดอน)Siam Bheasach

บรรณานุกรม

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Calcium carbonate

Ferdek Drops ชนิดน้ำ

วิตามิน บี 1-6-12 (Vitamin B 1- 6 - 12 ) หรือ นิวโรเบียน (Neurobion)