Paracetamol














กลุ่มยาแก้ปวดและยาพาราเซตามอล (Analgesics and Paracetamol)


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :
เภสัชกรรม  เภสัชวิทยา 
อาการที่เกี่ยวข้อง :
ปวด 

บทนำ

กลุ่มยาแก้ปวด (Analgesics/อะนัลเจสิค) หมายถึง ยาประเภทต่างๆที่ใช้รักษาบรรเทาอา การปวด ซึ่งอาการปวดมีหลายแบบเช่น ปวดหัว/ปวดศีรษะ ปวดฟัน ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก ปวดท้อง ปวดข้อ และปวดหลัง
อาการปวดบางชนิดสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องใช้ยา เพียงพักผ่อนให้เพียงพอ ร่าง กายจะกำจัดของเสียที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อ อาการปวดก็ทุเลาลง แต่อาการปวดบางอย่างต้องรีบรักษาเช่น ปวดศีรษะจากความดันโลหิตสูง ปวดเจ็บแน่นหน้าอกอาจส่ออาการเลือดไปเลี้ยงหัว ใจไม่เพียงพอ แบบนี้รอไม่ได้ ต้องรีบพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลทันที
ในชีวิตประจำวันเมื่อมีอาการปวด คนเราจะใช้วิธีการที่ง่ายและสะดวกในการบรรเทาปวด โดยกินยาแก้ปวดหรือยาบรรเทาปวดเป็นอันดับแรก ทั้งนี้ยาแก้ปวดอาจจำแนกได้เป็นกลุ่มง่ายๆ ดังนี้
  1. ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) มีใช้ในประเทศไทยอย่างแพร่หลาย จัดเป็นยาสามัญประจำบ้าน หาซื้อง่าย ราคาไม่แพง
  2. ยาเอ็นเสด (NSAIDs) คือ ยาในกลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่ยาสเตียรอยด์ โดยคำว่า เอ็นเสด/เอนเสดส์ ย่อมาจาก Non-steroidal anti-Inflammatory drugs (นอนสเตียรอยดอล แอนตี้อินเฟลมมาตอรีดรัก) เช่น ยาไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) ยาไดโคฟีแนค (Diclofenac) ยาเมเฟนามิค (Mefenamic) ยาอินโดเมธาซิน (Indomethacin) ยาไพโรซิแคม (Piroxicam) และ ยานิมีซูไลด์ (Nimesulide)
  3. ยาคอกทูอินฮิบิเตอร์ (COX-2 Inhibitors) เช่น ยาเซเลโคซิป
  4. กลุ่มยาแก้ปวดชนิดเสพติด เช่น มอร์ฟีน (Morphine) และโคเดอีน (Codeine)

ยาแก้ปวดรักษาอาการปวดได้อย่างไร?

กลไกการบรรเทาปวดของยาแก้ปวดจะแตกต่างและเป็นคนละแบบกับยาชา เพราะยาชากำจัดทั้งความเจ็บปวดและทำให้ความรู้สึกถึงการสัมผัสของร่างกายสูญหายไปด้วยพร้อมๆกัน
กลไกการออกฤทธิ์ของยาแก้ปวด สามารถออกฤทธิ์ระงับปวดจากความรู้สึกที่สมองหรือ ไม่ก็ออกฤทธิ์ที่อวัยวะที่มีอาการปวดโดยตรง ทั้งนี้อาจแบ่งแนวทางการออกฤทธิ์ของยาแก้ปวดได้ดังนี้
  1. ออกฤทธิ์ห้ามมิให้ร่างกายสร้างหรือหลั่งสารที่ก่อให้เกิดอาการปวด
  2. ยังยั้งฤทธิ์ของสารในร่างกายที่หลั่งออกมาและทำให้รู้สึกปวด
  3. ห้ามไม่ให้เม็ดเลือดขาวออกมาสร้างปฏิกิริยากับบาดแผลที่ได้รับบาดเจ็บจนก่อเกิดอา การปวด

ผลอันไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง) จากยาแก้ปวดมีอะไรบ้าง?

ยาทุกชนิดมีทั้งคุณและโทษ กลุ่มยาแก้ปวดหากใช้ผิดเวลา ผิดขนาด ผิดวิธี ผิดคน อาจส่งผลอันไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง) ได้มากมาย
ผลอันไม่พึงประสงค์จากยาแก้ปวดที่พบบ่อยได้แก่ เป็นพิษกับตับ ไต ระคายเคืองต่อระ บบทางเดินอาหาร (กระเพาะอาหารและลำไส้กระตุ้นความดันโลหิตให้สูงขึ้นในผู้ที่ป่วยมีโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว อาจมีผลให้เกิดโรคหัวใจ นอกจากนี้ อาจพบอาการ/ผลข้างเคียงอื่นๆตามมาเช่น ผื่นคัน ปวดศีรษะ ง่วงนอน และหอบหืด

ยาแก้ปวดมีรูปแบบจำหน่ายอย่างไร?

ยาแก้ปวดที่มีจำหน่ายในร้านยา โรงพยาบาล คลินิก มีหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น

มีคำแนะนำเลือกใช้ยาแก้ปวดไหม?

การใช้ยาทุกชนิดรวมทั้งยาแก้ปวดให้ได้ผลและปลอดภัยควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ หรือเภสัชกรเสมอ ซึ่งโดยทั่วไปมีคำแนะนำการเลือกใช้ยาแก้ปวดดังนี้
ยาพาราเซตามอล (Paracetamol):

ยาพาราเซตามอลมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?

ยาพาราเซตามอล (Paracetamol หรือ Acetaminophen) มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) แก้ปวดระดับน้อยไปจนถึงระดับปานกลาง แต่ไม่ช่วยลดการอักเสบของร่างกายเช่น การอักเสบจาก ถูกกระแทกฟกช้ำ ใช้เป็นยาลดไข้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
ข้อดีของยาพาราเซตามอลคือ ไม่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร สามารถรับประทานพร้อม อาหารหรือขณะท้องว่างได้

ยาพาราเซตามอลออกฤทธิ์อย่างไร?

ยาพาราเซตามอลออกฤทธิ์โดยจะไปยับยั้งการสร้างสารเคมีบางตัวในสมองของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดเช่น สารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) และจะชักนำให้เกิดกลไกการลดอุณหภูมิหรือลดไข้ของร่างกายลง

ยาพาราเซตามอลมีรูปแบบจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยาพาราเซตามอลมีรูปแบบจัดจำหน่ายได้หลายรูปแบบได้แก่
  • ชนิดเม็ด 325 มิลลิกรัม และ 500 มิลลิกรัม
  • ชนิดน้ำ 120 มิลลิกรัมใน 1 ช้อนชา และ 250 มิลลิกรัมใน 1 ช้อนชา
  • ชนิดหยด 60 มิลลิกรัมในน้ำ 0.6 มิลลิลิตร
  • ชนิดฉีด 300 มิลลิกรัมในน้ำ 2 มิลลิลิตร

ยาพาราเซตามอลมีขนาดรับประทานอย่างไร?

ทั้งผู้ใหญ่และเด็กมีขนาดและช่วงระยะเวลากินยาพาราเซตามอลที่ต่างกันตามอาการและการตอบสนองของร่างกาย ซึ่งเมื่อกินยาพาราเซตามอลแล้วอาการไม่ทุเลาภายใน 1 - 2 วันต้องรีบพบแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุและปรับแนวทางการรักษาอีกครั้ง
อนึ่ง การใช้ยาพาราเซตามอลไม่ได้ขึ้นกับน้ำหนักของผู้ป่วยเพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นกับโรคต่างๆของผู้ป่วยด้วยเช่น ผู้ที่มีโรคตับและ/หรือโรคไต แพทย์มักต้องปรับลดขนาดยาที่รับประทานลงทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยเอง สำหรับผู้ใหญ่ขนาดสูงสุดที่รับประทานไม่ควรเกิน 4 กรัม/ วัน ดังนั้นถึงแม้ยาพาราเซตามอลจะเป็นยาสามัญประจำก็ไม่ควรใช้ยาพร่ำเพรื่อ ควรใช้ยาแต่ เฉพาะเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และควรขอคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาเสมอ เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา โดยเฉพาะการใช้ยาในเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคเรื้อรังประจำตัว

เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมทั้งยาพาราเซตามอล ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรดังนี้

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

หากลืมรับประทานยาพาราเตามอลสามารถรับประทานยาเมื่อนึกขึ้นได้ หากการลืมทานยาใกล้กับมื้อถัดไปให้รับประทานขนาดปกติ โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า

ยาพาราเซตามอลมีผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง) ไหม?

การกินยาพาราเซตามอลเป็นเวลานานติดต่อกันเกิน 5 - 7 วันหรือกินเกินขนาด (ขนาดปกติในผู้ใหญ่ที่ไม่มีโรคประจำตัวคือ กินครั้งละ 1 - 2 เม็ดทุก 6 - 8 ชั่วโมง) อาจทำให้เกิดพิษต่อตับ และการกินร่วมกับแอลกอฮอล์สามารถทำให้เกิดภาวะตับล้มเหลวได้ ซึ่งมีบางคนที่กินยาพาราเซตามอลปริมาณมากต้องทนทุกข์ทรมานด้วยสภาวะตับล้มเหลว ต้องนอนพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลเป็นเวลานาน

ยาพาราเซตามอลมีปฏิกิริยากับยาตัวอื่นไหม?

ยาพาราเซตามอลมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นดังนี้

มีข้อควรระวังในการใช้ยาพาราเซตามอลอย่างไร?

มีข้อควรระวังในการใช้ยาพาราเซตามอลดังนี้
  • ควรระวังเป็นพิเศษถ้าต้องใช้ยาพาราเซตามอลในผู้ป่วยที่มีสภาวะตับทำงานผิดปกติ/โรคตับ (ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอ) และห้ามใช้ยากับผู้ที่เคยมีการแพ้ยาตัวนี้ (รู้ได้จากมีอาการผิดปกติจากกินยาพาราเซตามอลในครั้งก่อนๆเช่น ขึ้นผื่นคันและ/หรือแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก/หายใจลำบาก)
  • ห้ามใช้ยาหมดอายุ
***** อนึ่ง
ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมทั้งยาแก้ปวดทุกชนิดและยาพาราเซตามอล) ยาแผนโบราณทุกชนิดและสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิดควรต้องปฏิบัติตาข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

ควรเก็บรักษายาพาราเซตามอลอย่างไร?

ยาเม็ด ควรอยู่ในหีบห่อ (แผงยา) ของบริษัทผู้ผลิต เก็บให้พ้นแสงแดด ไม่ควรเก็บในที่ที่มีอุณหภูมิสูงเช่น ตากแดด เป็นต้น
ยาน้ำการเก็บเหมือนกับยาเม็ด ควรอยู่ในขวดที่ปิดสนิท อยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส/Celsius (ถ้าทำได้คือ เก็บในตู้เย็นแต่ไม่ใช่ช่องแช่แข็ง) และหลังเปิดขวดแล้ว สามารถใช้ยาต่อได้ไม่เกิน 3 เดือน (เมื่อยายังไม่เสื่อมสภาพเช่น สี กลิ่น เปลี่ยนไป)
อนึ่ง ทั้งยาเม็ดและยาน้ำหากพบว่าลักษณะของยาเปลี่ยนไปเช่น สี กลิ่น เปลี่ยน หรือ แตก หัก ไม่ควรใช้ยา ให้ทำลายยาทิ้ง
อีกประการที่สำคัญ ต้องเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยงเสมอ

ยาพาราเซตามอลมีชื่ออื่นๆไหม? ผลิตโดยบริษัทอะไรบ้าง?

ชื่อการค้าบริษัทผู้ผลิต
Tylenol (ไทลีนอล)Jenssen – Cilag/DKSH
Tempra /TempraForte (เทมปรา) Mead Johnson/DKSH
Unicap(ยูนิแคป)Unison
Paracap (พาราแคป)Masalab
Sara (ซารา)Thainakorn pattana
Panadol (พานาดอล)GlaxoSmithKline

บรรณานุกรม

  1. 1. MIMS. Pharmacy. Thailand. 9th Edition 2009.
  2. MIMS Thailand . TIMS. 110th Ed 2008.
  3. พิสิฐ วงศ์วัฒนะ. (2547). ยา. THE PILL BOOK .
  4. สุภาภรณ์ พงศกร.(2528). ปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยา (Drug Interactions ). เภสัชวิทยา เล่ม 1 . ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
  5. Analgesichttp://en.wikipedia.org/wiki/Analgesic [2015,April4].

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Calcium carbonate

Ferdek Drops ชนิดน้ำ

วิตามิน บี 1-6-12 (Vitamin B 1- 6 - 12 ) หรือ นิวโรเบียน (Neurobion)