ยานิโคลซาไมด์ (Niclosamide)














ยานิโคลซาไมด์ (Niclosamide)


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :
ลำไส้  เภสัชกรรม 
อาการที่เกี่ยวข้อง :

บทนำ

นิโคลซาไมด์ (Niclosamide) เป็นยาฆ่าพยาธิที่เจาะจงกับพยาธิตัวตืด ไม่สามารถฆ่าพยาธิ ตัวกลมหรือพยาธิเข็มหมุดได้ ยานี้ถูกออกแบบให้ต้องเคี้ยวก่อนกลืน ขนาดรับประทานจะขึ้นกับชนิดของพยาธิและน้ำหนักตัวของผู้ป่วย องค์การอนามัยโลกกำหนดให้เป็นยาที่จำเป็นต่อระบบสาธารณสุขขั้นมูลฐาน ทางคณะกรรมการอาหารและยาของไทยได้จัดให้นิโคลซาไมด์เป็นยาอันตราย การใช้ยาจึงควรอยู่ภายในการควบคุมดูแลของแพทย์เท่านั้น

ยานิโคลซาไมด์มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร

ยามีเบนดาโซลมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

กลไกการออกฤทธิ์ของยานิโคลซาไมด์คือ ตัวยาจะออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการออกซิเดทีฟฟอสโฟรีเลชัน (Oxidative phosphorylation: กระบวนการแปรรูปพลังงาน) ในไมโทคอนเดรีย(Mitochondria: หน่วยสำคัญของเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงาน) ของหนอนพยาธิ ทำให้ตัวพยาธิขาดพลังงานในการดำรงชีวิตและตายในที่สุด

ยานิโคลซาไมด์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยานิโคลซาไมด์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายในรูปแบบยาเม็ดขนาดความแรง 500 มิลลิกรัม/เม็ด

ยานิโคลซาไมด์มีขนาดรับประทานอย่างไร?

ยานิโคลซาไมด์มีขนาดรับประทานดังนี้
ก. สำหรับฆ่าพยาธิตืดหมู:
ข. สำหรับฆ่าพยาธิตืดวัว:
  • ผู้ใหญ่และเด็กอายุมากกว่า 6 ปี: รับประทาน 1 กรัมหลังอาหารเช้า หลังจากนั้นอีก 1 ชั่วโมงรับประทานอีก 1 กรัม
  • เด็กอายุ 2 - 6 ปี: รับประทาน 500 มิลลิกรัม หลังอาหารเช้าและหลังจากนั้นอีก 1 ชั่วโมง รับประทาน 500 มิลลิกรัม
  • เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี: รับประทาน 250 มิลลิกรัม หลังอาหารเช้า หลังจากนั้นอีก 1 ชั่วโมง รับประทาน 250 มิลลิกรัม
ค. สำหรับฆ่าพยาธิตืดแคระ:
  • ผู้ใหญ่และเด็กอายุมากกว่า 6 ปี: รับประทานเริ่มต้น 2 กรัมในวันแรก และวันถัดมารับประ ทานวันละ 1 กรัม เป็นเวลา 6 วัน
  • เด็กอายุ 2 - 6 ปี: รับประทานเริ่มต้น 1 กรัมในวันแรก และวันถัดมารับประทานวันละ 500 มิลลิกรัมเป็นเวลา 6 วัน
  • เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี: รับประทาน 500 มิลลิกรัมในวันแรก และวันถัดมารับประทานวันละ 250 มิลลิกรัมเป็นเวลา 6 วัน
อนึ่ง กรณีพยาธิตืดแคระ ควรรับประทานยานี้พร้อมอาหารหรือหลังอาหาร

เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยานิโคลซาไมด์ ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกร ดังนี้

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

หากลืมรับประทานยานิโคลซาไมด์สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า

ยานิโคลซาไมด์มีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

ยานิโคลซาไมด์อาจก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) ดังนี้ เช่น รู้สึกไม่สบายในช่องท้อง มีอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง เวียนศีรษะ เป็นต้น

มีข้อควรระวังการใช้ยานิโคลซาไมด์อย่างไร?

มีข้อควรระวังการใช้ยานิโคลซาไมด์ดังนี้
***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยานิโคลซาไมด์ด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตาข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

ยานิโคลซาไมด์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

ยานิโคลซาไมด์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น คือ การรับประทานนิโคลซาไมด์ร่วมกับแอลกอฮอล์สามารถทำให้ผลข้างเคียงของการใช้ยามีมากขึ้น ควรเลี่ยงการใช้ร่วมกัน

ควรเก็บรักษายานิโคลซาไมด์อย่างไร?

ควรเก็บยานิโคลซาไมด์ภายใต้อุณหภูมิห้อง เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดดและความชื้น เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง และไม่ควรเก็บยาในห้องน้ำ

ยานิโคลซาไมด์มีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ยานิโคลซาไมด์ที่จำหน่ายในประเทศไทย มียาชื่อการค้าอื่นและบริษัทผู้ผลิต เช่น
ชื่อการค้าบริษัทผู้ผลิต
CB-99 (ซีบี-99)Charoen Bhaesaj Lab
Heroanson (ฮีโรแอนซัน)Heromycin Pharma
Manoverm (แมโนเวิร์ม)March Pharma
Niclosamide Community Pharm (นิโคลซาไมด์ คอมมูนิตี้ ฟาร์ม)Community Pharm PCL
Niclosamide Picco (นิโคลซาไมด์ พิคโค)Picco Pharma
Niclosamide T Man (นิโคลซาไมด์ ทีแมน)T. Man Pharma
Sinchoni (ซินโชนี)Chinta
Sinper-Tabs (ซินเปอร์ แท็บส์)SSP Laboratiories
Telmitin (เทลมิทิน)Nakornpatana
Topida (โทพิดา)T. Man Pharma
Utosamide (ยูโทซาไมด์)Utopian
Yomesan (โยเมซาน)Bayer HealthCare Pharma

บรรณานุกรม

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Calcium carbonate

Ferdek Drops ชนิดน้ำ

วิตามิน บี 1-6-12 (Vitamin B 1- 6 - 12 ) หรือ นิวโรเบียน (Neurobion)