Cinnarizine


ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :
เภสัชกรรม 
อาการที่เกี่ยวข้อง :

ทั่วไป

ยาซินนาริซีน (Cinnarizine) เป็นยาอยู่ในกลุ่มยาแอนติฮิสตามีน (Anti-histamine) ถูกสังเคราะห์ขึ้นโดยบริษัทแจนเซนในปี ค.ศ. 1955 (พ.ศ. 2498) เป็นยาที่รู้จักกันดีในวงการแพทย์ และถูกนำมาใช้รักษา อาการเมารถ เมาเรือ และ อาการคลื่นไส้อาเจียน
ในประเทศไทยจะพบเห็นยาซินนาริซีนในรูปแบบของยาเม็ด ทั้งนี้หลังรับประทานยาซินนาริซีน ระดับยาจะคงอยู่ในร่างกายประมาณ 3 – 4 ชั่วโมง จากนั้นยาจะถูกขับออกทางปัสสาวะและอุจจาระในที่สุด ยาซินนาริซีนจัดเป็นยาอันตราย การใช้ยาควรต้องได้รับคำสั่งจากแพทย์ หรือขอคำปรึกษากับเภสัชกร ก่อนใช้เสมอ

ยาซินนาริซีนมีสรรพคุณ(คุณสมบัติ)อย่างไร?

ยาซินนาริซีนมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

ยาซินนาริซีน ออกฤทธิ์โดยตรงต่อกล้ามเนื้อเรียบที่ผนังของหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก ซึ่งการออกฤทธิ์ดังกล่าวจะเกิดมากที่บริเวณสมอง และส่งผลให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกมากขึ้น

ยาซินนาริซีนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยาซินนาริซีนในประเทศไทยจะพบเห็นในรูปแบบของยาเม็ด ขนาดความแรง 25 มิลลิ กรัม

ยาซินนาริซีนมีขนาดรับประทานอย่างไร?

  • ผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 1 – 2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง และควรรับประทานหลังอาหารเพื่อลดอาการระคายเคืองของระบบทางเดินอาหาร
  • ส่วนในเด็ก การใช้ยานี้ต้องอยู่ในดุลพินิจของแพทย์เท่านั้น

เมื่อมีการสั่งยา ควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิด รวมถึงยาซินนาริซีน ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกร ดังนี้

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

หากลืมรับประทานยาซินนาริซีน สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็นสองเท่า

ยาซินนาริซีนมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

ผลไม่พึงประสงค์/ผลข้างเคียงของยาซินนาริซีน คือ สามารถทำให้เกิดอาการ วิงเวียนศีรษะ ง่วงนอน ระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร ปากแห้ง เหงื่อออกมาก น้ำหนักเพิ่ม คันตาผิวหนัง อาจมีผื่นขึ้น ซึมเศร้า และอาจพบอาการหายใจติดขัด/หายใจลำบากในผู้ป่วยบางราย

มีข้อควรระวังการใช้ยาซินนาริซีนอย่างไร?

ข้อควรระวังในการใช้ยาซินนาริซีน (เพราะยาอาจก่อผลข้างเคียงที่รุนแรงขึ้น และ/หรืออาจส่งผลให้อาการของโรคร่วมต่างๆรุนแรงขึ้น) ได้แก่
  • ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่มีประวัติแพ้ยา ซินนาริซีน
  • ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคหืด
  • ห้ามใช้ยานี้กับสตรีตั้งครรภ์และสตรีที่กำลังให้นมบุตร ด้วยมีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกได้
  • ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วย โรคตับ โรคไต โรคต้อหิน
  • ห้ามใช้ยากับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Dissease)
  • ระหว่างการใช้ยานี้ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยวดยานพาหนะ หรือหลีกเลี่ยงการทำงานกับเครื่อง จักร เพราะผลข้างเคียงของยาที่ทำให้ง่วงนอน อาจส่งผลให้เผลอหลับจนก่ออันตรายได้
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยากับเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี เพราะผลข้างเคียงของยาอาจรุนแรงมากกว่าในคนช่วงอายุอื่นๆ
***** อนึ่ง
ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึง ยาแผนปัจจุบันทุกชนิด(รวมถึงยาซินนาริซีนยาแผนโบราณทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะ ยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิด ควรต้องปฏิบัติตาม ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด ) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

ยาซินนาริซีนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

ยาซินนาริซีน มีปฏิกิริยาระหว่างยา กับยาตัวอื่นๆได้ดังนี้

ควรเก็บรักษายาซินนาริซีนอย่างไร?

สามารถเก็บยาซินนาริซีนในอุณหภูมิห้องได้ โดยเก็บให้พ้นแสงแดด และความชื้น และต้องเก็บยานี้ให้พ้นมือเด็กเสมอ

ยาซินนาริซีนมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ชื่ออื่นของยาซินนาริซีน และชื่อบริษัทผู้ผลิตในประเทศไทย เช่น
ชื่อการค้าบริษัทผู้ผลิต
Bugeron (บูจีรอน)Burapha
Cenai (เซนาย)The Forty-Two
Cerebroad (เซเรบรอด)Chinta
Ceremin (เซเรมิน)Polipharm
Cinerine (ซิเนรีน)Pharmasant Lab
Cinna (ซินนา)T. Man Pharma
Cinnapac (ซินนาแพค)Inpac Pharma
Cinnar (ซินนาร์)Atlantic Lab
Cinnarin (ซินนาริน)Suphong Bhaesaj
Cinnarine (ซินนารีน)Community Pharm PCL
Cinnarizine T.O. (ซินนาริซีน ที.โอ.)T.O. Chemicals
Cinnarizine Utopian (ซินนาริซีน ยูโทเปียน)Utopian
Cinnatab (ซินนาแทบ)Medicpharma
Cinnaza (ซินนาซา)Pharmaland
Cinrizine (ซินริซีน)Medifive
C-Pela (ซี-พีลา)Thai Nakorn Patana
C-Ricin (ซี-ริซิน)Patar Lab
K.B. Gyding (เค.บี. กายดิง)K.B. Pharma
Linazine (ไลนาซีน)Asian Pharm
Manoron (มาโนรอน)March Pharma
Medozine (เมโดซีน)Medochemie
Naricin (นาริซิน)Inpac Pharma
Narizine (นาริซีน)Charoon Bhesaj
Nazine Tab (นาซีน แทบ)Vesco Pharma
Siarizine (ซีเอริซีน)Siam Bheasach
Silicin (ซิลิซิน)Greater Pharma
Sorebral (โซรีบรอล)Condrugs
Stugeron (สตูจีรอน)Janssen-Cilag
Stugin (สตูจิน)Bangkok Lab & Cosmetic
Sturon (สตูรอน)Medicine Products
Vernarin (เวอร์นาริน)Nakornpatana

บรรณานุกรม

  1. http://www.drugbank.ca/drugs/DB00568 [2014,Jan23].
  2. https://www.mims.com/Thailand/drug/info/Cinnar/?q=cinnarizine&type=brief [2014,jan23].
  3. http://drugs.webmd.boots.com/drugs/drug-99-CINNARIZINE+.aspx?drugid=99&drugname=CINNARIZINE%2B&source=2&isTicTac=false [2014,Jan23].
  4. http://www.patient.co.uk/medicine/Cinnarizine.htm [2014,jan23].
  5. http://reference.medscape.com/drug-interactionchecker [2014,Jan23].
  6. http://en.wikipedia.org/wiki/Cinnarizine [2014,Jan23].

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อะลูมิเนียม ไฮดรอกไซด์ (Aluminium Hydroxide)

มาเจสโต-เอฟ (Magesto-F)

Ferdek Drops ชนิดน้ำ