Fenesin (Glyceryl)
บทนำ
ยาไกวเฟนิซิน (Guaifenesin) เป็นกลุ่มยาขับเสมหะที่มีขายในร้านขายยาทั่วไป และมีการ ใช้มานานร่วม 6 ทศวรรษ โดยช่วยบรรเทาอาการไอชนิดมีเสมหะ รักษาและบรรเทาอาการโรคเก๊าต์ ในบางครั้งยังเป็นที่นิยมใช้ในหมู่นักร้อง อย่างไรก็ตามจัดเป็นยาอันตรายและต้องได้รับคำ แนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาเสมอ
ยาไกวเฟนิซินมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
ยาไกวเฟนิซินมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
กลไกการออกฤทธิ์ของยาไกวเฟนิซินคือ การกระตุ้นขับสารคัดหลั่งออกมาจากหลอดลม และทำให้เสมหะอ่อนตัวไม่ข้นเหนียว จึงง่ายในการขับออกจากหลอดลม ลำคอ และโพรงจมูก กลไกอีกชนิดคือช่วยขับเสมหะ โดยหลังจากได้รับยาไกวเฟนิซิน ขนกวัดหรือขนเซลล์ (Cilia) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเซลล์ท่อทางเดินหายใจจะพัดโบกได้ดีขึ้น และสามารถพัดโบกเอาสิ่งแปลก ปลอม/เสมหะออกจากท่อทางเดินหายใจได้ดีขึ้น
ยาไกวเฟนิซินมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาไกวเฟนิซินมีรูปแบบการจัดจำหน่ายดังนี้
- ยาแคปซูลเจลในรูปผสมกับยาอื่น ขนาด 200 มิลลิกรัม
- ยาเม็ดในรูปผสมกับยาอื่น ขนาด 50, 100 และ 200 มิลลิกรัม
- ยาน้ำในรูปผสมกับยาอื่น ขนาด 100 มิลลิกรัม/5 มิลลิลิตร (1 ช้อนชา)
ยาไกวเฟนิซินมีขนาดรับประทานอย่างไร?
มีขนาดการใช้ยาไกวเฟนิซินที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นกับอายุ ความรุนแรง และสภาวะความ เจ็บป่วยของร่างกาย ดังนั้นจึงควรให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยสั่งจ่ายยาที่เหมาะสม ไม่ควรซื้อยากินเอง
ขนาดสูงสุดของยาไกวเฟนิซินที่รับประทานในผู้ใหญ่ต้องไม่เกิน 2.4 กรัม/วัน โดยแบ่งรับ ประทานทุก 4 ชั่วโมง แต่ในเด็กควรต้องเป็นคำแนะนำจากแพทย์
เมื่อมีการสั่งยาไกวเฟนิซินควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมทั้งยาไกวเฟนิซิน ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกร ดังนี้
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิดและอาการจากการแพ้ยาเช่น กินยาแล้ว คลื่นไส้มาก หรือแน่น หาย ใจติดขัด/หายใจลำบาก
- โรคประจำตัวต่างๆรวมทั้งกำลังกินยาอะไรอยู่ เพราะยาอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่า นั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กินอยู่ก่อนแล้ว
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือไม่ หรือกำลังให้นมบุตรหรือไม่ เพราะยาอาจจะ/มักผ่านรกหรือผ่านเข้าสู่น้ำนมและเข้าสู่ทารก ก่อผลข้างเคียงต่อทารกได้
หากลืมรับประทานยาไกวเฟนิซินควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยาไกวเฟนิซินสามารถรับประทานยาเมื่อนึกขึ้นได้ หากการลืมทานยาใกล้กับมื้อถัดไปให้รับประทานขนาดปกติ โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า
ยาไกวเฟนิซินมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง) จากยาไกวเฟนิซินคือ คลื่นไส้ อาเจียน อาจพบผื่นคัน อา การบวม และเพิ่มโอกาสเกิดนิ่วในไตได้
มีข้อควรระวังการใช้ยาไกวเฟนิซินอย่างไร?
ข้อควรระวังในการใช้ยาไกวเฟนิซินคือ
- ระวังการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์และหญิงที่อยู่ในสภาวะให้นมบุตร
- การใช้ยานี้กับผู้ที่มีอาการไอจากการสูบบุหรี่มักจะไม่ค่อยได้ผล
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
***** อนึ่ง
ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด(รวมถึงยาไกวเฟนิซินด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิดควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด เสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
ยาไกวเฟนิซินมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ไม่พบว่ายาไกวเฟนิซินมีปฏิกิริยาร่วมกับยาอื่น
ควรเก็บรักษายาไกวเฟนิซินอย่างไร?
ควรเก็บรักษายาไกวเฟนิซินให้พ้นแสงแดด เลี่ยงการเก็บในที่ชื้น สามารถเก็บยาที่อุณหภูมิ ห้องได้ ไม่ควรเก็บยาที่หมดอายุควรทำลายทิ้ง และเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง ห้ามเก็บยาในช่องแช่แข็งของตู้เย็น และไม่ควรเก็บยาในห้องน้ำ
ยาไกวเฟนิซินมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ชื่อทางการค้าของยาไกวเฟนิซิน และบริษัทผู้ผลิตที่มีในประเทศไทย เช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
ALLERIN (อัลเอลริน) | United American |
ANTUSSIA (แอนทัสเซีย) | Asian Pharm |
ANTUSSIA SYRUP (แอนทัสเซีย ไซรัป) | Asian Pharm |
ASIABRON (เอเซียบรอน) | Asian Pharm |
ASMALINE (แอสมาไลน์) | Polipharm |
BEPENO – G (เบพพีโน – จี) | Milano |
BIOVENT (ไบโอเวนท์) | Biomedis |
BROMESEP (บรอมมีเซพ) | Siam Bheasach |
BROMTUSSIA (บรอมทัสเซีย) | Asian Pharm |
BRONCHIL (บรอนซิล) | Siam Bheasach |
BRONCHONYL (บรอนโคนิล) | Pharmasant Lab |
BRONCHOPREX (บรอนโคเพรกซ์) | Kenyaku |
BRONPECT – D (บรอนเพกซ์ – ดี) | Kenyaku |
CO – COF (โค – คอฟ) | Millimed |
COFBRON (คอฟบรอน) | Macro Phar |
COHISTAN EXPECTORANT (โคฮีสแทน เอกซ์เพกโทแรนท์) | Pediatrica |
D – COATE (ดี – โคท) | B L Hua |
DEXTRO COUGH SYRUP (เดกซ์โทร คอกซ์ ไซรัป) | Osoth Interlab |
FARTUSSIN (ฟาร์ทัสซิน) | Farmaline |
GENTUSSIN (เจนทัสซิน) | General Drugs House |
GLYCOLATE (ไกลโคเลท) | Pharmasant Lab |
GLYRYL (ไกลริล) | Pharmasant Lab |
ICOLID CPM (ไอโคลิด ซีพีเอ็ม) | Greater Pharma |
ICOLID EXPECTORANT (ไอโคลิด เอ็กซ์เพกโทแรนท์) | Greater Pharma |
KUPA (คูปา) | M & H Manufacturing |
MEDITAPP (เมดิแทป) | Medifive |
NEOPECT (นีโอเป็กซ์) | Masa Lab |
POLYPHED (โพลีเฟด) | Pharmasant Lab |
QUALITON (ควอลิตัน) | T.O. Chemicals |
ROBITUSSIN (โรบิทัสซิน) | Wyeth Consumer Healthcare |
ROBITUSSIN DM (โรบิทัสซิน ดีเอ็ม) | Wyeth Consumer Healthcare |
ROBITUSSIN ME (โรบิทัสซิน เอ็มอี) | Wyeth Consumer Healthcare |
ROBITUSSIN PS (โรบิทัสซิน พีเอส) | Wyeth Consumer Healthcare |
ROPECT (โรเป็กซ์) | R P Scherer |
ROTUSS (โรทัสส์) | R P Scherer |
SALMOL EXPECTORANT (ซัลมอล เอ็กซ์เพกโทแรนท์) | Biolab |
TERCO – C (เทอร์โค – ซี) | B L Hua |
TERCO – D (เทอร์โค – ดี) | B L Hua |
TUSNO (ทัสโน) | Milano |
TUSSA (ทัสซา) | Silom Medical |
VENTOLIN EXPECTORANT (เวนโทลิน เอ็กซ์เพกโทแรนท์) | Glaxo Smith Kline |
บรรณานุกรม
1. http://en.wikipedia.org/wiki/Guaifenesin [2014,Nov15].
2. http://www.mims.com/Thailand/drug/search/guaifenesin [2014,Nov15 ].
2. http://www.mims.com/Thailand/drug/search/guaifenesin [2014,Nov15 ].
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น